มะเร็งผิวหนัง

มะเร็งผิวหนัง แม้จะเป็นมะเร็งที่พบได้ไม่มากในประเทศไทยเช่นมะเร็งอื่น ๆ แต่กลับมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น โดยพบมากในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย จากสถิติข้อมูลมะเร็งประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2559 – 2561 โดย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ซึ่งในแต่ละปีพบผู้ป่วยรายใหม่เฉลี่ยถึง 4,374 คนต่อปี หรือวันละ 12 คน แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเรากำลังเสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนังหรือไม่ มีวิธีสังเกตลักษณะของผิวหรืออาการตัวเองอย่างไรบ้าง มาร่วมหาคำตอบกันในบาทความนี้

มะเร็งผิวหนัง ในเอเชีย
สำหรับสถานการณ์ในปัจจุบัน โรคมะเร็งบนผิวหนังเป็นสิ่งที่พบได้น้อยในคนทั่วไป พบได้มากในชาวคอเคเซียน หรือว่าชาวยุโรป ในขณะที่ชาวเอเชียพบได้แค่ 1 – 2 % เท่านั้น

มะเร็งผิวหนัง

ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งผิวหนัง

– สีผิว โดยเฉพาะในคนผิวขาว ที่มีประวัติผิวไหม้ได้ง่ายหลังโดนแดด มีตาสีฟ้า ผมสีบลอนด์
– ประวัติมะเร็งผิวหนังในครอบครัว
– การได้รับแสงแดดจัดต่อเนื่องเป็นเวลานาน การฉายแสงเพื่อให้ผิวสีแทน (Tanning Bed)
– การได้รับสารเคมีบางชนิด เช่น สารหนู (Arsenic)
– มีแผลเรื้อรัง
– ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ ทั้งนี้อาจเกิดเนื่องการการมีโรคประจำตัวบางอย่างที่มีผลต่อระบบภูมิต้านทาน เช่น โรค HIV การได้รับยากดภูมิต้านทานต่อเนื่องเป็นเวลานาน

วิธีการตรวจวินิจฉัย

เบื้องต้น หากสงสัยว่าตุ่มไฝตรงบริเวณนั้นมีลักษณะที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งไฝ อย่างแรกเลยก็คือแนะนำให้เข้ามารับการปรึกษากับแพทย์ผิวหนัง เพื่อตรวจโดยใช้อุปกรณ์ Dermoscopy ส่องดูสภาพผิวหนังเบื้องต้นเพื่อความสะดวกในการวิเคราะห์โรคผิวว่ามีลักษณะที่ผิดปกติหรือไม่ หากแพทย์พบความผิดปกติร่วมกับการซักประวัติผู้เข้ารับการตรวจ จะพิจารณาทําการตัดชิ้นเนื้อ หรือว่า Skin Biopsy เพื่อส่งยืนยันตุ่มไฝทางพยาธิว่าเป็นลักษณะเซลล์ชนิดไหน ถ้าเกิดผลที่ออกมาทางพยาธิวิทยาพบว่าบริเวณนั้นเป็นมะเร็งผิวหนังหรือมะเร็งไฝ จะพิจารณาการรักษาโดยขึ้นอยู่กับบริเวณบนผิวหนังที่ผู้ป่วยเป็น เลือกการรักษาที่เหมาะสมร่วมกับแพทย์เฉพาะทางด้านต่าง ๆ เช่น แผนกรังสีรักษา หน่วยเคมีบําบัด หรือแพทย์ศัลยกรรม เพื่อดูแลผิวหนังบริเวณนั้นหาชั้นตอนการรักษาที่ดีที่สุด

อาการของโรคมะเร็งผิวหนังเป็นแบบไหน

1. Basal Cell Carcinoma (BCC) พบเป็นตุ่มสีผิว หรือสีชมพู แดง ผิวเรียบมันวาว อาจเห็นเส้นเลือดฝอยเล็ก ๆ ที่ผิวของตุ่มได้ มักพบบริเวณที่โดนแดด เช่น จมูก ข้างแก้ม เป็นต้น
2. Squamous Cell Carcinoma (SCC) พบเป็นตุ่มนูน ที่มีฐานแข็ง ด้านบนมีขุย สะเก็ด หรือบางครั้งอาจแตกเป็นแผล มีเลือดออก ขยายขนาดได้
3. Malignant Melanoma (MM) หรือบางครั้งก็เรียกสั้น ๆ ว่า Melanoma เป็นมะเร็งผิวหนังที่เกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสี (Melanocyte) มีลักษณะและเจริญเติบโตผิดปกติ พบเป็นตุ่มนูนคล้ายไฝ หรือขี้แมลงวัน มีลักษณะเฉพาะ เช่นมีรูปร่างไม่สมมาตร ขอบไม่ชัด สีไม่สม่ำเสมอ หรือสีดำเข้มมาก ขนาดใหญ่มากกว่า 6 มิลลิเมตร มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในระยะเวลาสั้น มีเลือดออก เป็นต้น ในคนเอเชียมักพบมะเร็งผิวหนังชนิดนี้บริเวณริมฝีปาก เยื่อบุในช่องปาก ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ปลายนิ้วได้

ป้องกันไม่ให้เกิดตุ่ม ไฝมะเร็ง ได้ไหม

สาเหตุที่ทําให้เกิดโรคมะเร็งบนผิวหนังเป็นหลักคือการโดนแสงยูวีเป็นระยะเวลานาน ๆ สิ่งสําคัญที่ช่วยป้องกันอย่างแรกเลยก็คือ ครีมกันแดด ควรเลือกใช้ครีมกันแดดที่มีประสิทธิภาพในการกันรังสียูวี มีค่า SPF>50 เพื่อจะได้มีประสิทธิภาพในการกันรังสี UVB ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงค่า PA บ่งบอกถึงการป้องกันรังสี UVA ควรจะมีค่าอย่างน้อย ++++ ขึ้น เพราะว่าจะมีประสิทธิภาพในการป้องกัน และบริเวณที่ทา ปริมาณในการทาที่เหมาะสม เช่น บริเวณใบหน้า ทางแพทย์ผิวหนังจะแนะนําทุกคนนะคะ ให้ทาครีมกันแดดอย่างน้อยปริมาณสองข้อนิ้ว แล้วก็อย่าป้องกันแค่ใบหน้าอย่างเดียว อย่าลืมทาตรงบริเวณคอ แขน ขา เมื่อเราต้องไปออกโดนแดดเป็นระยะเวลานานๆ หรือว่าอยู่กลางแจ้งเป็นระยะเวลานาน ๆ ควรจะต้องมีการทากันแดดซ้ำทุก 2 – 3 ชั่วโมง

การรักษาโรคมะเร็งผิวหนัง

มะเร็งผิวหนังสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด การฉายรังสีรักษา การให้ยาเคมีบำบัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิด ตำแหน่ง และระยะของมะเร็งด้วย

ที่มา

mordeeapp.com

thainakarin.co.th

ติดตามเรื่องราวดีๆได้ที่ redtubepornvid.com